Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

รองเท้าหนังที่เก่าแก่ที่สุด อายุ 5,500 ปี

"มันน่าประหลาดใจที่รองเท้าข้างนี้คล้ายกับรองเท้าในยุคสมัยใหม่มากขนาดนี้!"
กล่าวโดยนักออกแบบชื่อดัง ข้างในอัดแน่นไปด้วยหญ้า บางทีมันอาจจะเป็นฉนวนกันความร้อนหรือที่ดันทรงในยุคแรก รองเท้าหนังอ่อน (moccasin) อายุ 5,500 ปีนี้ 
ถูกค้นพบในสภาพอย่างดีเป็นพิเศษ รองเท้าหนังลึกลับถูก ขุดพบในถ้ำของ ชาวอาร์มีเนียระหว่างปี 2018 

เมื่อเทียบเท่าขนาดของรองเท้า มันใหญ่ประมาณรองเท้าผู้หญิงเบอร์ 7 ดูเหมือนว่ารองเท้าข้างนี้จะถูกตัด สำหรับเท้าข้างขวาของผู้สวมใส่ จากการคำนวณอายุของอินทรีย์วัตถุโดยใช้กัมมันตภาพรังสีในรูปของคาร์บอน (Radiocarbon) 
ระบุวันที่ประมาณ 3,500 ปีก่อน คริสต์ศักราช ระหว่างยุคทองแดงแห่ง อาร์มีเนีย

รองเท้าสมัยก่อนประวัติศาสตร์นี้ถูกบีบอัดบริเวณส้นและส่วนปลาย ของรองเท้า เป็นไปได้ว่าสาเหตุมาจากการเดินเป็นระยะทางหลายร้อยไมล์ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่ารองเท้าจะใช้การไม่ได้

ลูกตาเทียมที่เก่าแก่ที่สุด อายุ 4,800 ปี

ลูกตาเทียมที่เก่าแก่ที่สุด 
(อายุ 4,800 ปี)
ตามการรายงานในปี 2019
นักโบราณคดีชาวอิหร่านในเมือง Burnt ประกาศในเว็บไซต์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ถึงการค้นพบที่ไม่เคยมีมาก่อนของลูกตาเทียมในยุค 4,800 ปีก่อน 

ลูกตาเทียมนี้เป็นของหญิง
แกร่งคนหนึ่ง อายุระหว่าง 25 ถึง 30 ปีในช่วงเวลาที่ตาย และวัสดุของมันประกอบด้วยน้ำมันดินธรรมชาติผสมกับไขมันสัตว์ จับเป็นแข็งราวก้อนหิน..
จากการศึกษาลูกตาเทียมยังบอกถึงการเกิดของฝีหนองในเปลือกตา
เนื่องจากการสัมผัสกับลูกตาเทียมในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้น
เนื้อเยื่อของเปลือกตาที่ยังคงเหลืออยู่เป็นตัวบ่งบอกถึงลูกตาเทียมนี้อย่างชัดเจน

การศึกษายืนยัน ดื่มน้ำอัดลมทุกชนิด 2 แก้วต่อวัน เสี่ยงเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

การศึกษาชิ้นใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ JAMA ที่ศึกษาข้อมูลจากชายหญิง 451,743 คน จาก 10 ประเทศในยุโรป ในระยะเวลา 19 ปี พบว่า การบริโภคน้ำอัดลมวันละ 2 แก้วขึ้นไป จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหารและลำไส้ และหากดื่มน้ำอัดลมประเภทไดเอ็ท หรือที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล วันละ 2 แก้วขึ้นไป จะมีส่วนเชื่อมโยงกับการเสียชีวิตด้วยโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ
นอกจากนี้ ในการศึกษายังพบว่า การดื่มน้ำอัดลมในปริมาณมากต่อวัน ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคพาร์กินสันอีกด้วย
ทั้งนี้ อายุเฉลี่ยของผู้ที่อยู่ในการวิจัยนี้ อยู่ที่ 50.8 ปี และราว 71.1% เป็นผู้หญิง
การศึกษานี้ครอบคลุมผลกระทบของการบริโภคน้ำอัดลมในทุกรูปแบบ ทั้งที่ใช้น้ำตาลธรรมชาติและที่ใส่สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่ขนาดการบริโภค 1 แก้ว เท่ากับประมาณ 250 มิลลิลิตร แต่ปัจจุบันน้ำอัดลมที่จำหน่ายทั่วโลก 1 กระป๋องมีปริมาณ 355 มิลลิลิตร
ปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพ ด้วยการบริโภคเครื่องดื่มน้ำตาลน้อยหรือปราศจากน้ำตาลกันมากขึ้น เช่นเดียวกับการผลักดันภาษีน้ำอัดลมในสหรัฐฯ
ซึ่งเกิดขึ้นในบางเมืองของรัฐแคลิฟอร์เนีย, โคโลราโด, โอเรกอน และอิลลินอยส์ ท่ามกลางแรงกดดันจากผู้ประกอบการน้ำอัดลมรายใหญ่ที่พยายามคัดค้านประเด็นดังกล่าว

มีลูกหนึ่งคนเท่ากับแม่แก่ลงอีก 11 ปี

มีลูกหนึ่งคนเท่ากับแม่แก่ลงอีก 11 ปี แม้จะรู้กันทั่วไปว่าการตั้งครรภ์และคลอดบุตรในแต่ละครั้งส่งผลต่อสุขภาพของคนเป็นแม่อย่างยิ่ง แต่ไม่มีผู้ใดคาดคิดมาก่อนว่า การมีลูกกับเขาคนหนึ่งจะทำให้แม่ต้องแก่ชราลงกว่าเดิมในระดับเซลล์ถึง 11 ปี

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอร์จเมสันของสหรัฐฯ ศึกษาข้อมูลจากตัวอย่างเลือดของหญิงอเมริกันอายุ 20-44 ปี ราว 2,000 คน ที่เข้าร่วมในโครงการตรวจสุขภาพและภาวะโภชนาการระดับชาติ
ระหว่างปี 1999-2002 

โดยศึกษามุ่งเน้นไปที่การวัดความยาวของเทโลเมียร์ (Telomere) ซึ่งเป็นส่วนปลายของโครโมโซมที่เป็น เสมือนปลอกหุ้มปกป้องสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอในเซลล์เอาไว้ 

ผลการวิเคราะห์ดังกล่าวซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Human Reproduction ระบุว่า หญิงที่มีบุตรแล้วจะมีความยาวของเทโลเมียร์หดสั้นลงกว่าหญิงที่ไม่มีบุตรโดยเฉลี่ย 4.2% 

ซึ่งเป็นความยาวที่เท่ากับเทโลเมียร์ของหญิงที่มีอายุแก่กว่าถึง 11 ปี แสดงว่าเซลล์ของหญิงที่มีบุตรจะถูกเร่งให้ชราลงเร็วยิ่งขึ้น และยิ่งมีบุตรมากคนขึ้นเท่าไหร่ เทโลเมียร์ก็จะยิ่งสั้นลงเท่านั้น 
ดร. แอนนา พอลแล็ก ผู้นำทีมวิจัยบอกว่า ความยาวของเทโลเมียร์นั้นเชื่อมโยงกับสุขภาวะของร่างกายในระยะยาวรวมทั้งอายุขัยด้วย ซึ่งการที่หญิงมีบุตรมีเทโลเมียร์หดสั้นลงราว 4.2% นั้นน่าตกใจอย่างยิ่ง เพราะเท่ากับว่าเซลล์ร่างกายแก่ชราลงในอัตราที่มากยิ่งกว่าการสูบบุหรี่หรือเป็นโรคอ้วนด้วยซ้ำ 

"เรารู้มาก่อนแล้วว่าการมีบุตรนั้นเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือเบาหวานให้กับคนเป็นแม่ แต่ผลวิเคราะห์ล่าสุดนี้ยังชี้ว่าการตั้งครรภ์และคลอดลูกยังเร่งกระบวนการเข้าสู่วัยชราของเซลล์ให้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วขึ้นอีกด้วย" 
ดร.พอลแล็กกล่าว 
อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาล่าสุดนี้ขัดกับงานวิจัยของมหาวิทยาลัยไซมอนเฟรเซอร์ในแคนาดา ซึ่งวัดความยาวของเทโลเมียร์ในหมู่หญิงที่คลอดบุตรแล้วทารกรอดชีวิตที่ประเทศกัวเตมาลา โดยพบว่าหญิงเหล่านี้กลับมีส่วนของเทโลเมียร์ขยายยาวมากขึ้น

ดร. พอลแล็กอธิบายในส่วนนี้ว่า 
"ผลการศึกษาผู้หญิงในชุมชนสองแห่งที่มีสภาพทางสังคมวัฒนธรรมแตกต่างกัน อาจทำให้ได้ผลลัพธ์ไม่เหมือนกันได้ เพราะการที่เทโลเมียร์หดสั้นลงอาจไม่ได้มาจากการคลอดบุตรโดยตรง 

แต่การที่แม่ชาวอเมริกันมีความเครียดมากกว่า เพราะไม่มีเครือข่ายทางสังคมสนับสนุนรองรับการเลี้ยงดูบุตรเหมือนแม่ชาวกัวเตมาลา อาจเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เทโลเมียร์หดสั้นลงก็เป็นได้
ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติมในเรื่องนี้ต่อไป

ฟอสซิลชี้หนูอยู่คู่บ้านคนมานาน 15000 ปี

หนูบ้านพบได้ในเกือบทุกครัวเรือนทั่วโลก จนทำให้แมวกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยม 

นักวิจัยฝรั่งเศสพบซากฟอสซิลหนูจากแหล่งโบราณคดีทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเป็นหลักฐานชี้ว่าหนูเริ่มเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านเรือนของมนุษย์ตั้งแต่ 15,000 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนเข้าสู่ยุคเกษตรกรรม ดร. โทมัส คุชชี่ นักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติฝรั่งเศส ตีพิมพ์เผยแพร่การค้นพบดังกล่าวลงในวารสาร PNAS

โดยระบุว่าได้ศึกษาฟันจากซากฟอสซิลของหนู ที่พบในแหล่งโบราณคดีทางตอนใต้ของภูมิภาคเลอแวนท์ (Levant ) หรือทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งปัจจุบันได้แก่ดินแดนอิสราเอล ปาเลสไตน์ อิรัก จอร์แดน เลบานอน ซีเรีย และบางส่วนของตุรกี 

พบว่ามีความเก่าแก่กว่าช่วงเวลาที่เคยคาดกันไว้แต่เดิมว่าหนูป่าเริ่มเข้ามาอาศัยในชุมชนมนุษย์ครั้งแรก ในช่วงเวลา 15,000 ปีก่อนนั้น สังคมมนุษย์ยังไม่เข้าสู่ยุคเกษตรกรรม แต่เริ่มมีการสร้างบ้านเรือนอยู่เป็นหลักแหล่ง เช่นบ้านทรงกลมที่สร้างจากหินและโคลน รวมทั้งหาของป่าและล่าสัตว์จำพวกกวางและหมูป่ามาเลี้ยงชีพ 

โดยเชื่อว่ามีการหาธัญพืชป่า เช่นข้าวสาลีหรือข้าวบาร์เลย์มาเก็บสะสมไว้ในครัวเรือน จนเป็นแหล่งอาหารอย่างดีที่ดึงดูดหนูให้เข้ามากินและอาศัยอยู่ในบ้านคนซึ่งปลอดภัยจากสัตว์ผู้ล่าด้วย  
ดร. เจเรมี เซิร์ล ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยคอร์แนลของสหรัฐฯ ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการวิจัยดังกล่าวให้ความเห็นว่า การค้นพบครั้งนี้ช่วยให้ความกระจ่างเพิ่มเติมในเรื่องของพัฒนาการการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและหนูบ้าน

ซึ่งไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นขึ้นเมื่อมนุษย์เริ่มการเพาะปลูกเพื่อเลี้ยงชีพอย่างที่เข้าใจกันมา แต่ความสัมพันธ์ดังกล่าวเริ่มขึ้นก่อนหน้านั้น และก่อนที่จะถึงยุคซึ่งมนุษย์เริ่มนำสุนัขและแมวเข้ามาเป็นสัตว์เลี้ยงประจำครัวเรือนเสียอีก 
อย่างไรก็ตาม หลังยุคดังกล่าวหนูได้แพร่พันธุ์ไปอาศัยอยู่ในชุมชนมนุษย์ทั่วทุกมุมโลก โดยถือเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่แพร่พันธุ์รุกรานเข้าไปยังถิ่นต่าง ๆ มากที่สุดชนิดหนึ่ง แต่ในปัจจุบันก็มี
ผู้เลี้ยงหนูพันธุ์ที่สวยงามน่ารักเป็นสัตว์เลี้ยง และหนูบางสายพันธุ์ถูกนำมา
ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์อย่างกว้างขวาง

เมืองโบราณลึกลับเหลา หลันในทะเลทราย

เมืองโบราณเหลา หลัน
เมืองโบราณเหลา หลันตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลทรายโกบีหลัว ปู้ พัวของภาคใต้ซิงเกียง เคยเป็นเมืองที่สำคัญของเส้นทางสายไหม ปัจจุบัน เมืองโบราณเหลา หลันถูกล้อมรอบด้วยทะเลทราย ไม่มีร่องรอยของคน และภาวะแวดล้อมแย่ลงมาก

หนังสือประวัติศาสตรบันทึกว่า ในศตวรรษที่2ก่อนคริสต์ศักราช
เมืองเหลา หลันเป็นเขตเจริญรุ่งเรืองที่สุดของเขตซียู่(เขตตะวันตกของด่านยู่เหมินกวาน) แต่สิ่งที่แปลกคือ เมืองเหลา หลันมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นเวลานาน500-600ปี จา่กนั้นก็สาบสูญไปอย่างกระทันหัน 

สาเหตุที่เมืองเหลา หลันสาบสูญไปเป็นป้ญหาที่นักโบราณคดีและ
นักวิทยาศาสตร์ทั้งในจีนและในต่างประเทศต่างก็ให้ความสนใจ 
เมืองเหลา หลันเป็นดินแดนลึกลับ
ที่นักผจญภัยใฝ่ฝันที่จะไปให้ถึง
ปัจจุับัน นักโบราณคดีค้นพบว่า เมืองโบราณเหลา หลัน ถูกฝังกลบอยู่ในทะเลทราย สืบเนื่องจากธรรมชาติและปัญหาที่มุนษย์ทำขึ้น ทำให้แม่น้ำเปลี่ยนทางและถูกทำลายจากพายุทราย 

ปัจจุบันได้สำรวจพบแล้วว่า เมืองโบราณเหลา หลันมีพื้นที่1แสน2หมื่นตาราเมตร กำแพงเมืองทำหด้วยดินต้นอ้อ และยางไม้ 
ในเมืองโบราณเหลา หลันมีทางแม่น้ำเก่าแก่ ปัจจุบันยังมีเจดีย์และอาคารบริเวณโดยรอบเจดีย์ที่ยังหลงเหลืออยู่ ในบริเวณเมืองโบราณเหลา หลันยังมีหอสัญญาณไฟโบราณ คลังเสบียงอาหารและสุสานโบราณ เป็นต้น 
ในสุสานโบราณเมืองโบราณเหลา หลันยังได้ขุดค้นพบมัมมี่สาวสวยเหลา หลันที่มีอายุกว่า3800ปี ปัจจุบัน ในเมืองโบราณเหลา หลันยังมีวัตถุโบราณมากมายหลงเหลืออยู่ เช่น เศษเครื่องบั้นดินเผา เทวรูปโบราณรูปร่างแปลกประหลาดเศษเงินทองแดงโบราณและเศษผ้าไหมเป็นต้น

สาวอังกฤษทำสถิติ ตายแล้วฟื้นนานที่สุด หลังหัวใจหยุดเต้นไป 6 ชั่วโมง

ในทางเทคนิคแล้ว แพทย์จะยืนยันการเสียชีวิตของบุคคลโดยใช้ 4 ปัจจัยหลักร่วมกันคือ การหายใจ, การตอบสนอง, อุณหภูมิร่างกาย และ ชีพจร แต่ทั่ว ๆ ไปก็ใช้การเต้นของหัวใจที่เองเป็นเครื่องมือบอกว่าใครตายหรือยัง แต่มันใช้ไม่ได้กับ ออเดรย์ สคูมัน
(Audrey Schoeman) เพราะหัวใจของเธอหยุดเต้นไปนานร่วม 6 ชั่วโมง ก่อนจะฟื้นกลับมาเป็นปกติได้อย่างน่าอัศจรรย์
ออเดรย์ เป็นคุณครูสาว อายุ 34 ปี สัญชาติอังกฤษ แต่มาใช้ชีวิตในประเทศแอฟริกาใต้ตั้งแต่เด็ก โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน เธอกับสามีออกไปปีนเขาใกล้กับเมือง คิโรน่า (Girona)  
ประเทศสเปน แต่ด้วยสภาพอากาศอันเลวร้าย ทำให้ทั้งคู่หลงทาง และติดอยู่ในพายุหิมะ

สามีของออเดรย์กล่าวว่า ในตอนนั้น เธอเริ่มพูดจาไม่รู้เรื่องและมีอาการแปลกไป กระทั่งเขาเห็นเธอเหลือกตาและหยุดหายใจ เป็นสัญญาณว่าเธอไม่น่าจะรอดแล้ว

แต่โชคดีที่หน่วยกู้ภัยไม่ถอดใจ และรีบส่งร่างของเธอไปโรงพยาบาลด้วยเฮลิคอปเตอร์อย่างเร่งด่วน แม้ว่าหัวใจของเธอจะหยุดเต้นไปร่วม 6 ชั่วโมงแล้วก็ตาม
ออเดรย์ ถูกส่งตัวมายังโรงพยาบาล Barcelona’s Vall d’Hebron ก่อนที่หมอจะเริ่มประเมินสภาพของเธอ และพบว่ามีความเป็นไปได้ในการช่วยชีวิต เนื่องจากอุณหภูมิร่างกายของออเดรย์ลดต่ำลงอย่างฉับพลันจนเหลือเพียงแค่ 18 องศาเซลเซียสตลอดเวลาที่เดินทางมา และถึงหัวใจจะหยุดเต้น แต่อวัยวะภายในอื่น ๆ ก็ยังไม่มีความเสียหายมากนัก ราวกับมันได้ถูกแช่เย็นเอาไว้
แพทย์ ค่อย ๆ กู้การทำงานของร่างกายกลับมาทีละส่วนด้วยการค่อย ๆ 
เพิ่มอุณหภูมิ พร้อมทั้งกระตุ้นหัวใจให้กลับมาทำงานอีกครั้ง กลายเป็นความสำเร็จในการช่วยชีวิตที่มหัศจรรย์มากที่สุดครั้งหนึ่งในวงการแพทย์ เพราะไม่เคยมีใครหัวใจหยุดเต้นไปนานขนาดนี้มาก่อน

“นี่ถือเป็นกรณีที่พิเศษมาก ๆ ในระดับโลก เพราะมันคือภาวะหัวใจหยุดเต้นที่นานที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกเอาไว้ ไม่เคยมีกรณีที่ผู้ป่วยหัวใจหยุดนานขนาดนี้แล้วจะสามารถรักษาให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้” ดอกเตอร์ เอดูอาร์ด อาร์กูโด (Dr Eduard Argudo)  แพทย์ผู้ช่วยชีวิตออเดรย์ กล่าว
Fact – Hypothermia หรือ ภาวะตัวเย็นเกิน คือภาวะที่ร่างกายสูญเสียความร้อนจนอุณหภูมิลดต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส ส่งผลให้อวัยวะภายในร่างกายทำงานผิดปกติจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยที่มีผู้เสียชีวิตจากอากาศหนาวเฉพาะใน อเมริกา สูงถึงปีละ 1,500 คน

นักวิทย์ใช้ ฟอสซิลนิ้วมือ สร้างใบหน้าบรรพบุรุษสุดลึกลับ ที่หายไป 4 หมื่นปี ขึ้นมาใหม่

วันที่ 19 ธันวาคม 2019 
สำนักข่าว The Telegraph
รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ได้เผยโฉมหน้าของบรรพบุรุษที่ลึกลับที่สุดคนหนึ่งของเรา ซึ่งเป็นใบหน้าที่สร้างขึ้นโดยเทคนิคล้ำสมัย จากการใช้ DNA เพียงอย่างเดียว ถือเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในวงการ มานุษยวิทยา (Anthropology) ที่ศึกษาเกี่ยวกับ
สปีซีส์หรือวงวารของมนุษย์โดยเฉพาะครับ
มนุษย์เดนิโซวาน (Denisovans) เป็นสายพันธุ์ย่อยของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในเวลาเดียวกันกับมนุษย์ยุคใหม่ และมนุษย์นีแอนเดอธัล ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ทั้งสองสายพันธุ์จึงมีโอกาสผสมพันธุ์กับมนุษย์เดนิโซวาน และทำให้เรามีรหัสพันธุกรรมบางส่วนของพวกเขาอยู่ในร่างกาย

ก่อนหน้านี้ ซากฟอสซิลของมนุษย์เดนิโซวานที่นักโบราณคดีพบในจีนและรัสเซีย มีเพียงฟันไม่กี่ซี่ กระดูกนิ้วมือชิ้นเดียว กราม และกระดูกแขน เท่านั้น จึงทำให้การสร้างใบหน้าของพวกเขาเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมาก

แต่ล่าสุด แทนที่จะพึ่งพาโครงสร้างกระดูกใบหน้า ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์เลือกที่จะใช้รหัสดีเอ็นเอจากซากฟอสซิลนิ้วมือเพื่อสร้างใบหน้าของพวกเขาขึ้นมาใหม่

“มีหลายอย่างที่มนุษย์เดนิโซวานคล้ายกับมนุษย์นีแอนเดอธัล แต่ก็มีบางอย่างที่พวกเขาคล้ายกับเรา ในขณะเดียวกันพวกเขาก็มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองด้วย” – ดร. ลิแลน คาร์เมล จากมหาวิทยาลัยฮีบรู แห่งเยรูซาเลม กล่าว

ผู้เชี่ยวชาญไม่แน่ใจว่า มนุษย์เดนิโซวานหายไปตั้งแต่เมื่อไหร่ มีความเป็นไปได้คือระหว่าง 40,000 – 60,000 ปีที่แล้ว และการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมแสดงให้เห็นว่า ดีเอ็นเอของพวกเขายังคงถูกส่งผ่านไปยังมนุษย์เมื่อ 15,000 ปีที่แล้วด้วย
นักวิจัยบอกว่า มนุษย์เดนิโซวานมีคุณสมบัติทางกายวิภาคที่แตกต่างจากมนุษย์ยุคใหม่และมนุษย์นีแอนเดอธัล 56 จุด โดยตรงกระโหลกมีมากถึง 34 จุด เช่น มนุษย์เดนิโซวาน จะมีกระโหลกที่กว้างกว่ามนุษย์ยุคใหม่และมนุษย์นีแอนเดอธัล และมีแนวโน้มที่จะมีส่วนโค้งแนวฟันที่ยาวกว่า พวกเขาจึงมีปากที่ใหญ่กว่านั่นเอง

“การศึกษากายวิภาคของมนุษย์เดนิโซวาน ทำให้เราได้เรียนรู้ถึงการปรับตัวของมนุษย์ ข้อจำกัดทางวิวัฒนาการ การมีปฏิสัมพันธ์ของยีนสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงของโรค” – ดร. คาร์เมล กล่าวเสริม
Fact – พานัมยา มานาเรีย หนุ่มวัยรุ่นชาวอินเดีย ที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นคนที่มี “นิ้วมือมากที่สุดในโลก”
ด้วยจำนวน นิ้วมือ 12  และนิ้วเท้า 13 รวมทั้งหมด 25 นิ้ว

รายการบล็อกของฉัน