Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

จระเข้ยักษ์โบราณ พูรัสซอรัส ที่มีแรงกัดทรงพลังกว่าทีเร็กซ์ 2 เท่า


จระเข้ยักษ์โบราณ พูรัสซอรัส ที่มีแรงกัดทรงพลังกว่าทีเร็กซ์ 2 เท่า


วันนี้เราจะมานำเสนอบทความเกี่ยวกับเรื่องจระเข้โบราณที่มีฟันเหยินแทรกแซงแหลมคมเต็มปาก

ต้องยอมรับนะครับว่าจระเข้เนี่ยเป็นสัตว์ยุคโบราณที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันต้นตระกูลของมันที่เป็นจระเข้ยักษ์ฟันเหยินเต็มปากตัวใหญ่โตมโหฬารอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้วแต่ก็ยังมีเชื้อสายพันธุ์จระเข้ที่หลงเหลือสืบพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนะครับเดี๋ยวเรามาเข้ารายละเอียดเลยดีกว่าครับ

ไคแมนยักษ์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ พูรัสซอรัส (Purussaurus) เป็นนักล่าในยุคไมโอซีน อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำในทวีปอเมริกาใต้ ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีแรงกัดมากที่สุดของสัตว์ที่เคยปรากฏมาบนโลก


มีสิ่งมีชีวิตเหนือจินตนาการของเราจำนวนมากที่อาศัยอยู่บนโลกนี้มานานก่อนที่มนุษย์จะเกิดขึ้น ซึ่งสิ่งที่น่ากลัวที่สุดในบรรดาสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็คือ พูรัสซอรัส จระเข้ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีลำตัวยาวกว่ารถโรงเรียน และแข็งแกร่งกว่าทีเร็กซ์

พูรัสซอรัสมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Purussaurus brasiliensis จระเข้ยักษ์โบราณที่ยาวถึง 13 เมตรเมื่อโตเต็มวัยและมีน้ำหนักมาถึง 8,210 กิโลกรัม พวกมันกินเนื้อวันละประมาณ 40 กิโลกรัมเป็นประจำ


สัตว์โบราณชนิดนี้ออกล่าเหยื่อบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำในทวีปอเมริกาใต้ มันจะพุ่งตัวขึ้นจากน้ำเพื่อตะครุบเหยื่อ ขากรรไกรของมันมีแรงกัดมหาศาลถึง 5.3 เมตริกตัน ซึ่งแข็งแกร่งกว่าไทแรนโนซอรัส เรกซ์ถึง 2 เท่า

การค้นพบพูรัสซอรัส
Purussaurus brasiliensis ได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการตามการค้นพบในป่าฝนของบราซิล แม้ว่ารูปร่างของมันจะคล้ายกับจระเข้ แต่เนื่องจากมันมีท้องที่หุ้มเกราะหนาจึงถูกจัดอยู่ในสายตระกูลไคเมน (Caiman) ซึ่งเป็นสัตว์ตระกูลเดียวกับจระเข้

ซากฟอสซิลพูรัสซอรัสตัวแรกถูกค้นพบในช่วงปลายทศวรรษ 1800 โดย Joao Barbosa Rodrigues นักวิจัยชาวบราซิล ในระหว่างสายพันธุ์นี้ถูกค้นพบ มีการตั้งชื่อ และลงบันทึกทางประวัติศาสตร์แล้ว แต่ก็ยังมีการคาดเดามากมายเกี่ยวกับขนาดและนิสัยของมัน โชคดีที่มีการค้นพบกะโหลกศีรษะขนาดใหญ่ของมัน

ต่อมามีการค้นพบซากกระดูกชิ้นส่วนอื่นเพิ่มขึ้นตามเรื่อย ๆ ทั้งในประเทศเปรู โคลอมเบีย ปานามา และเวเนซุเอลา ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าพูรัสซอรัสเป็นสายพันธุ์จระเข้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยมีความยาวอยู่ที่ 13 เมตรและน้ำหนัก 8.4 ตัน

จนกระทั่งไม่นานมานี้ มีรายงานการค้นพบรอยกัดขนาดใหญ่ปรากฎอยู่บนกระดูกของสลอธที่มีอายุ 13 ล้านปี จากการศึกษาพบว่ารอยกัดนั้นน่าจะเกิดจากการโจมตีของพูรัสซอรัส เพราะในบรรดาจระเข้โบราณ 6 สายพันธุ์ในภูมิภาคนี้ไม่มีสายพันธุ์ไหนที่มีฟันใหญ่เท่ามันอีกแล้ว

ทำไม Purussaurus brasiliensis จึงเป็นนักล่าที่น่ากลัวที่สุดในยุคนั้น

 Tito Aureliano และทีมงานของเขาเปิดเผยข้อมูลที่ค้นพบเกี่ยวกับแรงกัด ลักษณะรูปร่าง และความเป็นอยู่ของพูรัสซอรัส นักบรรพชีวินวิทยาชาวบราซิลแห่งมหาวิทยาลัย Campinas ระบุว่าจระเข้ยักษ์โบราณสายพันธุ์นี้มีแรงกัดที่ทรงพลังที่สุดในบรรดาสัตว์สี่ขาที่เคยปรากฏบนโลก

จากข้อมูลในวารสาร Public Library of Sciences มีการวิเคราะห์แรงกัดของพูรัสซอรัส พบว่ามีค่าอยู่ที่ 69,000 นิวตันหรือ 15,512 ปอนด์ ซึ่งมากกว่าแรงกัดของฉลามขาวถึง 20 เท่า จระเข้โบราณตัวนี้สามารถแอบซ่อนอยู่ในน้ำตื้นและบิดเหยื่อของมันให้จมลึกลงไป ด้วยขนาดที่ใหญ่มหึมาและการล่าเหยื่อที่ทรงพลัง ทำให้พูรัสซอรัสเป็นราชาในหมู่นักล่า


เมื่อพูรัสซอรัสโตเต็มวัย มันจะกินสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก มันสามารถคว้าเหยื่อที่มีน้ำหนักมากกว่าหนึ่งตันได้อย่างง่ายดาย เมื่อเปรียบเทียบกับทีเร็กซ์ ถึงแม้ว่าทั้งสองจะมีชีวิตอยู่กันคนละยุค แต่เป็นที่แน่ชัดว่าแม้แต่ทีเร็กซ์ก็ไม่รอดจากแรงกัดมหาศาลและฟันที่แหลมคมของมัน

ทำไมPurussaurus ถึงสูญพันธุ์
อย่างไรก็ตามพูรัสซอรัสไม่ได้มีชีวิตยืนยาวอยู่บนโลกใบนี้ การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาก่อให้เกิดการแปรสัณฐานเป็นแนวเทือกเขาแอนดีส ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตของสัตว์หลายสายพันธุ์

เนื่องจากพูรัสซอรัสต้องการเนื้อจำนวนมหาศาลเพื่อมีชีวิตอยู่รอด เมื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นเหยื่อเริ่มหายไปพร้อมกับภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา พูรัสซอรัสก็ไม่มีอาหารเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิต สุดท้ายพวกมันค่อย ๆ ล้มตายลงและสูญพันธุ์ไปในที่สุด

อ่านมาจนถึงวันสุดท้ายแล้วจระเข้ยักษ์โบราณพูรัสซอรัส ที่สูญพันธุ์ไปเนี่ยเพราะว่าไม่มีอาหารจะกินล่าเหยื่อ ไปล่ามาจนเหยื่อหายหมด  โลกเปลี่ยนแปลงก็เลยอดอยากปากแห้ง ตายไปสูญพันธุ์ไปก็แค่นั้นแหละเป็นไปตามวัฏจักรวงจรของชีวิตสุดท้ายก็ง่อยกินแห้งตาย ตายซากสูญพันธุ์ไปในที่สุด

งานวิจัยใหม่แนะมนุษย์อาจไม่ได้เป็นคนสร้างมหาสฟิงซ์ขึ้นมาเองทั้งหมด แต่ธรรมชาติเป็นคนช่วยและมนุษย์เป็นคนแต่งเติม


งานวิจัยใหม่แนะมนุษย์อาจไม่ได้เป็นคนสร้างมหาสฟิงซ์ขึ้นมาเองทั้งหมด
แต่ธรรมชาติเป็นคนช่วยและมนุษย์เป็นคนแต่งเติม

ธรรมชาติสร้างหรือคนสร้างพีระมิดหรือว่าสฟิงซ์มันก็ไม่มีความหมายอะไรในเมื่อมันสร้างเสร็จแล้วใครจะสร้างใครจะทำก็ปล่อยมันไปตามเรื่องตามราวไปเถอะ

แต่เราก็สามารถที่จะเรียนรู้หรือวิเคราะห์วิจัยได้นะเพราะความอยากรู้อยากเห็นของคนมันมีไม่มีสิ้นสุด

ซึ่งเกิดจากกระแสลมกัดเซาะนานหลายพันปี


เป็นเวลากว่า 40 ปีแล้วที่ Farouk El-Baz
นักวิทยาศาสตร์อวกาศและนัธรณีวิทยาซึ่งเป็นที่รู้จักจากการสำรวจภาคสนามในทะเลทรายทั่วโลก
ตั้งทฤษฎีว่าลมมีส่วนสำคัญในการสร้างรูปร่างของมหาสฟิงซ์แห่งกิซ่า
จากนั้นชาวอียิปต์โบราณก็ได้เพิ่มรายละเอียดใบหน้าและร่างกายให้สมบูรณ์

น่าเสียดายที่ตอนนั้นยังไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนเพียงพอ แต่ในตอนนี้งานวิจัยใหม่ที่เผยแพร่ในวารสารPhysical Review Fluids
จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กได้เสนอหลักฐานจากการทดลองว่า กระแสลมอาจเป็นผู้ช่วยสร้างจริง ๆ 

“การทดลองในห้องปฏิบัติการของเราแสดงให้เห็นว่ารูปร่างคล้ายสฟิงซ์ที่น่าประหลาดใจนั้นแท้จริงแล้วสามารถมาจากวัสดุที่ถูกกัดเซาะโดยการไหลที่รวดเร็ว” Leif Ristroph
รองศาสตราจารย์จากสถาบันวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ Courant Institute of Mathematical Sciences
กล่าว

จุดเริ่มต้นก็คือทีมวิจัยได้เห็นเสาหินในทะเลทรายที่เรียกว่า Yardang
มันเป็นเสาที่ถูกลมกัดกร่อนแต่ละส่วนไม่เท่ากันพวกเขาชื่อว่าบางที ชาวอียิปต์โบราณเห็น Yardangนี้แล้วก็อาจจะอยากแกะสลักตกแต่ง
เพิ่มใบหน้าคนเข้าไป แล้วเปลี่ยนตัวให้เป็นสิงโตพร้อมใส่ปีกอินทรีเข้าไปด้วย 

ทีมงานจึงทดลองว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่กระแสลมจะกัดเซาะหินให้มีรูปร่างเหมือนเป็นตัวต้นแบบของสฟิงซ์
พวกเขาจึงปั้นดินเหนียวโดยใส่วัสดุแข็งเข้าไปข้างในแล้วเอามันไปไว้ในอุโมงค์ที่มีกระแสน้ำไหลอยู่เพื่อแทนกระแสลม และพวกเขาก็ประหลาดใจ 


“(เรา)แสดงให้เห็นว่ากระบวนการกัดเซาะตามธรรมชาติสามารถแกะสลักรูปร่างที่ดูเหมือสิงโตนอนโดยมีการยกหัวขึ้น” Ristroph บอกน้ำที่ไหลอย่างรวดเร็วได้พัดเอาดินเหนียวออกไปกลายเป็นหัวทรงกระบอกซึ่งต่อมาก็เป็นเกราะป้องกันร่างกายด้านหลัง 

ในขณะที่กระแสน้ำด้านล่างลงมาก็ค่อย ๆ สร้างคอแขนขา และอุ้งเท้า
“รูปร่างที่ไม่คาดคิดมาจากการที่กระแสน้ำถูกเปลี่ยนทิศทางไปรอบ ๆ
ชิ้นส่วนที่แข็งกว่าหรือกัดกร่อนได้น้อยกว่า” Ristrophเสริม

และในท้ายที่สุดมนุษย์ก็เข้ามาแต่งเติมให้รายละเอียดสมบูรณ์ ทีมงานสรุปว่านี่คือหลักฐานที่เป็นไปได้แต่ยังไงก็ตามพวกเขาไม่แน่ใจว่าในธรรมชาติจะมีเสาหินที่ใหญ่พอหรือไม่แต่เสาหินหลายแห่งก็มีรูปร่างเหมือนสัตว์นั่งหรือนอนอยู่บ้างแล้ว 


“ในความเป็นจริงแล้วมี Yardang
ที่ดูเหมือนสัตว์นั่งหรือนอน บางตัวดูเหมือนสิงโตนั่งหรือแมวนั่งมาก ซึ่งสนับสนุนข้อสรุปของเรา”Ristroph กล่าวถึงอย่างนั้นพวกเขาก็ยังยกย่องความสามารถของชาวอียิปต์โบราณที่สามารถสร้างสรรค์งานออกมาได้อย่า
งน่าทึ่งรวมถึงจินตนาการถึงสัตว์วิเศษตัวนี้ด้วยเช่นกัน

"ผลลัพธ์เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าคนโบราณอาจพบอะไรบ้างในทะเลทรายของอียิปต์และเหตุใดพวกเขาจึงจินตนาการถึงสิ่งมีชีวิตที่น่าอัศจรรย์" รายงานระบุ

รายการบล็อกของฉัน