Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

นักวิทย์จีนพบฟอสซิล ไทรโลไบต์500 ล้านปี หน้าตาประหลาด

นักวิทย์จีนพบฟอสซิล ‘ไทรโลไบต์’ 500 ล้านปี หน้าตาประหลาด

ค้นหา

(ภาพวาด ‘แฟนทาสปิส ออริทุส’ โดยฮว่าซิ่วเฉวียน จากสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน)
— คณะนักวิทยาศาสตร์จีนพบฟอสซิลไทรโลไบต์ (Trilobite) ที่มีสัณฐานวิทยาส่วนหัวผิดปกติ และมีอายุย้อนหลังไปราว 500 ล้านปีก่อน ในมณฑลซานตงทางตะวันออกของจีน

สถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ระบุว่า ไทรโลไบต์ความยาว 4 เซนติเมตรดังกล่าวมีชื่อว่า ‘แฟนทาสปิส ออริทุส’ (Phantaspis auritus) มีเอกลักษณ์คือส่วนหน้าของศีรษะที่ยื่นออกมาเป็น 2 แฉกคล้ายหูกระต่าย

อนึ่ง ไทรโลไบต์ คือกลุ่มฟอสซิลของสัตว์ขาปล้องในทะเลที่สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยโครงกระดูกภายนอกของมันจะมีหินปูนเกาะหนา สัตว์ชนิดนี้เคยอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากในมหาสมุทรเมื่อประมาณ 520-250 ล้านปีก่อน

การค้นพบไทรโลไบต์ที่โดดเด่นชิ้นนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ เกี่ยวกับช่วงสัณฐานวิทยาและรากฐานโครงสร้างลักษณะเฉพาะส่วนหัวในไทรโลไบต์ยุคแคมเบรียน

“นับเป็นครั้งแรกที่เราได้เห็นไทรโลไบต์หน้าตาแปลกๆ เช่นนี้ รูปร่างส่วนหัวที่แปลกประหลาดของมันอาจทำให้ศัตรูตามธรรมชาติงงงวย หรือทำให้พวกมันหาอาหารได้ง่ายขึ้น” จ้าวฟางเฉิน นักวิจัยจากสถาบันกล่าว

อนึ่ง การศึกษาข้างต้นได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแอกตา พาเลนโทโลจิกา โพโลนิกา (Acta Palaeontologica Polonica) เมื่อเร็วๆ นี้

(ภาพถ่ายตัวอย่าง ‘แฟนทาสปิส ออริทุส’ จากสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน)

(ภาพถ่ายตัวอย่าง ‘แฟนทาสปิส ออริทุส’ จากสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน)
 

(ภาพถ่ายตัวอย่าง ‘แฟนทาสปิส ออริทุส’ จากสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน)

แมลงผู้สาบสูญ ฟอสซิสอายุ 99 ล้าน เจ้าของ หนวดใบไม้ใหญ่กว่าตัว


ค้นหา
‘แมลงผู้สาบสูญ’ เจ้าของ ‘หนวดใบไม้’ 
ใหญ่กว่าตัว

(แฟ้มภาพซินหัว : นักวิจัยของจีนแสดงแมลงพบใหม่ที่มีหนวดคล้ายใบไม้ขนาดใหญ่กว่าลำตัวและกลายเป็นฟอสซิสอายุ 99 ล้านปี ณ พิพิธภัณฑ์เพลิโอไดอารี กรุงปักกิ่งของจีน 

พิพิธภัณฑ์เพลิโอไดอารี (PaleoDiary Museum) ในกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน จัดแสดงอำพันพม่าอายุ 99 ล้านปี ซึ่งกักเก็บซากแมลงขนาดเล็กที่มีหนวดรูปทรงคล้ายใบไม้ขนาดใหญ่กว่าลำตัว

หนวดขนาดใหญ่และแปลกตาของแมลงตัวนี้แตกต่างจากแมลงสายพันธุ์อื่นๆ ทั้งที่เป็นฟอสซิลหรือที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับวิวัฒนาการและการสาบสูญ ตลอดจนมอบข้อมูลด้านการอยู่รอดตามธรรมชาติของแมลงที่กว้างยิ่งขึ้น

ผลการศึกษาในวารสารนานาชาติไอไซเอนซ์ (iScience) เมื่อเดือนมกราคม ระบุว่าหนวดหายากดังกล่าวแบ่งเป็น 4 ส่วน ยาว 6.78 มิลลิเมตร ซึ่งยาวกว่าลำตัวของแมลงตัวนี้ ทั้งยังยาวกว่าส่วนหัวราว 12.3 เท่า และกว้างกว่า 4.4 เท่า

คณะนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าหนวดของแมลงสายพันธุ์นี้ (Magnusantenna wuae) อาจเป็นทั้งคุณและโทษต่อการมีชีวิตรอด

ปู้เหวินจวิน ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยหนานไคของจีน ซึ่งเป็นผู้ร่วมวิจัย กล่าวว่าแมลงในยางไม้นี้อาจพรางตัวเป็นกิ่งก้านที่มีใบไม้ ซึ่งถือเป็นการพรางตัวจากกลุ่มนักล่าที่มีเอกลักษณ์ ซับซ้อนกว่าการพรางตัวเป็นใบไม้หรือกิ่งก้านอย่างเดียว

(ภาพจากพิพิธภัณฑ์เพลิโอไดอารี : แมลงที่มีหนวดขนาดใหญ่แปลกตา แบ่งเป็น 4 ส่วน ยาว 6.78 มิลลิเมตร ซึ่งยาวกว่าลำตัวของแมลงเล็กน้อย วันที่ )
การค้นพบครั้งนี้จะเป็นหลักฐานแสดงวิวัฒนาการของความหลากหลายทางพฤติกรรมของแมลงภายใต้กระบวนการคัดสรรตามธรรมชาติ

หวงต้าเว่ย ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นผู้ร่วมวิจัย ชี้ว่าหนวดนี้อาจช่วยให้แมลงรับสัญญาณทางเคมี พรางตัวตามต้นไม้ และคัดเลือกเพศ แต่ใช้พลังงานสูง ทำให้เคลื่อนที่ช้า และโดดเด่นเกิน ส่งผลให้สาบสูญตามการคัดสรรของธรรมชาติ
 แมลงแปลก
คณะนักวิจัยทิ้งท้ายว่าการค้นหาตัวอย่างแมลงที่มีหนวดขนาดใหญ่กว่าลำตัวเช่นนี้จะยังคงดำเนินต่อไปเพื่อการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต

รายการบล็อกของฉัน