Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

ค้นพบผ้าย้อมสีครามเก่าแก่ที่สุดในโลกอายุ 6,000 ปี ที่ประเทศเปรู


😳ค้นพบผ้าย้อมสีครามเก่าแก่ที่สุดในโลกอายุ 6,000 ปี ที่ประเทศเปรู
ผ้าฝ้ายเก่าแก่ที่ยังคงเหลือรอยแถบสีน้ำเงินคราม (สีกางเกงยีนส์) ซึ่งได้รับการวิเคราะห์และพิสูจน์แล้วว่าทำมาจากต้นคราม (indigo) ถูกค้นพบที่ประเทศเปรู มีอายุถึง 6,000 ปี ทำให้เป็นผ้าย้อมสีครามที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา

ผ้าโบราณของชาวเปรูนี้มีอายุเก่าแก่กว่าผ้าย้อมขอบสีครามของชาวอียิปต์โบราณมากกว่า 1,500 ปี และเก่าแก่กว่าผ้าย้อมสีครามครั้งแรกในประเทศจีนถึง 3,000 ปี

ทีมนักโบราณคดีได้ขุดพบชิ้นส่วนของผ้าที่แหล่งโบราณคดี Huaca Prieta บนชายฝั่งทางตอนเหนือของเปรู Huaca Prieta เป็นกองดินกองหินขนาดใหญ่ที่เคยเป็นที่อยู่ของชุมชนชาวเปรูโบราณ

Jeffrey Splitstoster ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอที่มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน รายงานว่าพวกเขาได้ขุดพบสิ่งทอโบราณที่ Huaca Prieta จำนวนมาก และมีการตรวจสอบไปแล้วมากกว่า 800 ชิ้น

“มันเป็นไปได้ที่มันจะเป็นผ้าย้อมสีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ผมไม่ทราบว่าจะมีอะไรเก่าแก่กว่านี้อีก” Splitstoser กล่าว “มันถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี สภาพที่ขาดวิ่นเกิดขึ้นก่อนที่จะถูกนำมาทิ้ง”

Splitstoser กล่าวเพิ่มเติมว่าผ้าที่ขุดพบมีลักษณะเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมขนาด 1 – 3 ฟุตที่ดูเหมือนจะถูกฉีกออกมาจากผ้าผืนใหญ่ และยังดูเหมือนกับถูกบิดและจุ่มลงในของเหลว

ด้วยขนาดของพวกมัน Splitstoser จึงเชื่อว่าผ้าที่ขุดพบไม่ได้ถูกใช้เป็นเสื้อผ้า แต่ใช้สำหรับการขนของ แบบเดียวกับคนแถบเทือกเขาแอนดีสทำ โดยวางของที่กลางผ้าแล้วหิ้วผ้าไป

“ผมคิดว่าพวกเขาได้นำสิ่งของไปที่วัด หลังจากเสร็จพิธีจึงได้ทิ้งผ้าไว้ที่นั่นด้วย” เขากล่าว

Jan Wouters นักเคมีที่มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) ตรวจสอบรอยสีฟ้าในเนื้อผ้าและบอกว่าสีย้อมค่อนข้างแน่ว่ามาจากต้นคราม อย่างไรก็ตาม Wouters ตั้งข้อสังเกตว่าการแยกสีครามจากพืชต้องใช้กระบวนการหลายอย่างรวมทั้งการหมักซึ่งหมายความว่าชาวเปรูโบราณมีความรู้ดีทั้งด้านงานทอผ้าและการแยกสี

“ในโลกสมัยใหม่ เราอาจคิดว่าคนโบราณดั้งเดิมไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวต่างๆ แต่จริงๆแล้วพวกเขาชาญฉลาดมาก” Splitstoser สรุป

หมู่บ้านลับแลของจริง งงกันทั้งคณะสำรวจเมื่อเข้าไปในถ้ำ กลับพบเมืองทั้งเมืองซ่อนอยู่


หมู่บ้านลับแลของจริง งงกันทั้งคณะสำรวจเมื่อเข้าไปในถ้ำ กลับพบเมืองทั้งเมืองซ่อนอยู่!!!


ข่าววันนี้ เมืองที่ไม่มีใครเคยเห็น เราก็มักเรียกว่าเป็นเมืองลับแล แต่ข่าวการค้นพบหมู่บ้านลึกลับนี้ จะทำให้เรารู้เลยว่า โลกนี้มีหมู่บ้านลับแลของจริง

ใครจะไปเชื่อว่า ภายในถ้ำที่มณฑลกุ้ยโจว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน จะกลายเป็นตำนานหมู่บ้านลับแลของจริงบนโลกใบนี้
       
ดูภายนอกก็เห็นแค่ทิวทัศน์ธรรมชาติธรรมดาๆ แต่เมื่อเข้าไปในถ้ำ เราจะพบกับหมู่บ้านชาวเขาตั้งเป็นชุมชนขนาดใหญ่อยู่ภายใน

หมู่บ้านม้งที่ตั้งมานานนับศตวรรษภายในถ้ำขนาดยาว 230 เมตร กว้าง 115 เมตร และเพดานถ้ำสูง 50 เมตร พวกเขาปฏิเสธคำแนะนำของรัฐบาลที่จะดึงพวกเขาออกมาสู่โลกภายนอก



แต่เห็นอย่างนี้ อย่านึกว่าพวกเขาเป็นมนุษย์ถ้ำที่ไม่รู้เรื่องราวโลกภายนอก เพราะถ้ามองดีๆ ความเป็นอยู่ของพวกเขามันก็ไม่ต่างจากหมู่บ้านทั่วไป บ้านมีรั้วรอบขอบชิด มีสัญลักษณ์กำกับหน้าประตูบ้านของใครของมัน 

ที่สำคัญ ประชากรที่อยู่อาศัยก็มีตั้งแต่คนแก่ วัยทำงาน ไปจนถึงเด็กๆ 
         
มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ น้ำที่ใช้ก็ได้มาจากธารน้ำในถ้ำ ความเป็นอยู่แสนสุขสบาย หน้าร้อนไม่ร้อน หน้าหนาวกลับไม่หนาวเย็นเกินไป แถมสภาพในถ้ำกลับไม่อับชื้นตลอดทั้งปีแบบถ้ำอื่นๆ
         
แต่ก็ต้องยอมรับความจริงของกระแสโลก จากเดิมที่สมาชิกในหมู่บ้านมีนับร้อยคน ปัจจุบันเหลือดอยู่อาศัยจริงๆแค่ 18 ครอบครัว ที่เหลืออพยพเข้าเมืองเพื่อหางานทำ
         
และในอดีต ภายในถ้ำก็มีโรงเรียน แต่ปัจจุบันนี้ปิดตัวลงไปแล้ว เด็กๆต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนภายนอก เหลือแต่สนามกีฬาที่ถูกทิ้งร้าง
          
ด้านความเป็นอยู่ พวกเขามีสวน มีนา แถมเลี้ยงวัวและหมูกันเองด้วย นอกจากนี้ สิ่งอำนวยความสะดวกอย่างโทรทัศน์ เครื่องใช้ไฟฟ้าก็มีหมด แม้แต่หนังสือพิมพ์ นิตยสารก็มี เพราะพวกเขาไม่ได้ตัดขาดจากโลกภายนอก ทุกๆสัปดาห์ ชาวบ้านในถ้ำนี้ จะเดินทางไกลกว่า 15 กิโลเมตรเพื่อซื้อของจำเป็นในเมือง
       
มีนักเดินทางและหน่วยงานเข้าไปเยี่ยมเยียนบ่อยครั้ง พร้อมสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้อย่างระบบไฟฟ้า ประปา แต่ทั้งนี้ สิ่งที่ผู้เฒ่าผู้แก่ต้องการคือ ถนนหนทางที่จะตัดจากเมืองมายังถ้ำเพื่อลดเวลาการเดินทางของพวกเขา เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตสะดวกขึ้น เด็กๆไม่ต้องลำบากในการไปเรียน และผู้คนก็ไม่ต้องอพยพจากบ้านไปไกล

หลุมลึกลับไซบีเรียเชื่อเกิดจากก๊าซใต้ดินระเบิด


นักวิทยาศาสตร์รัสเซียปักใจเชื่อปรากฏการณ์ 
“หลุมลึกลับแห่งไซบีเรีย” 
เกิดจากภาวะหลอมละลายของทุ่งน้ำแข็งในไซบีเรียซึ่งส่งผลให้เกิดการระเบิดของมวลก๊าซใต้ดินที่เคยถูกกักอยู่ได้เมื่อพื้นที่อยู่ในสภาพเยือกแข็ง 

นักวิทยาศาสตร์ตะวันตกยังไม่ยอมตัดความเป็นไปได้ที่เหลือ ในขณะที่สื่อในท้องถิ่นเตือนภัยฟองก๊าซขนาดใหญ่ 7,000 แห่งรอระเบิด

วาซิลี โบโกยาฟเลนสกี นักวิจัยจากสถาบันวิจันน้ำมันและก๊าซ ในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ให้สัมภาษณ์ไซบีเรียน ไทมส์ สื่อในท้องถิ่นไซบีเรีย ระบุว่า หลุมลึกลับขนาดใหญ่ที่พบเห็นกันบ่อยครั้งในพื้นที่ ไซบีเรีย ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา และกลายเป็นที่พิศวงของนักวิทยาศาสตร์ทั่วไปว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใดกันแน่นั้น น่าจะเกิดขึ้นด้วยปรากฏการณ์ชนิดหนึ่งในจำนวนหลายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ เมื่อสภาพพื้นที่ซึ่งเคยอยู่ในสภาพเยือกแข็งตลอดระยะเวลา 
(เพอร์มาฟรอสต์) เกิดหลอมละลายขึ้นมา

การหลอมละลายของทุ่งน้ำแข็งไซบีเรีย หรือ ไซบีเรียน ทุนดรา นั้นเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นที่ยอมรับกันว่ากำลังเกิดขึ้น ไซบีเรียน ทุนดรา คือดินที่มีสภาพเยือกแข็งตลอดปีมาเป็นระยะเวลานาน เมื่อตอนที่มันจับตัวแข็งเพราะอากาศหนาวเย็นจัดนั้น พื้นที่ดังกล่าวจะกักเก็บอินทรีย์วัตถุไว้ภายใน ความเย็นทำให้อินทรียสารเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นซากพืช หรือซากสัตว์ (รวมทั้งซากแมมมอธ) ไม่เน่าเปื่อย แต่สภาพเช่นนี้จะเปลี่ยนไปเมื่ออุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น ทุ่งทุนดราก็จะเริ่มหลอมละลาย ทำให้เกิดการเน่าเปื่อยขึ้นตามมาการเน่าเปื่อยของซากพืชหรือสัตว์ที่เป็นอินทรียสารนั้น จะก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกหลายชนิด ทั้ง คาร์บอนไดออกไซด์, มีเทน และไนตรัสออกไซด์ ขึ้น ก๊าซเหล่านี้จะส่งผลให้ภาวะโลกร้อนเร่งเร็วขึ้นจากเดิมที่เคยทวีขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะน้ำมือมนุษย์ ก๊าซมีเทนที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของวัตถุอินทรีย์นั้น จะสมทบด้วยก๊าซอีกแบบที่เรียกว่า “มีเทน ไฮเดรท” ที่เกิดจากฟองมีเทนซึ่งเดิมถูกกักเก็บไว้ในสภาพเยือกแข็งของพื้นดิน 

เมื่อพื้นดินหลอมละลายก็จะถูกปลดปล่อยออกมา ยิ่งสร้างความกังวลเรื่องก๊าซเรือนกระจกมากยิ่งขึ้น

สภาพการหลอมละลายของพื้นที่เพอร์มาฟรอสต์โดยทั่วไปจะก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “แอคทีฟ-เลเยอร์ ดีพเพนนิง” ซึ่ง เบน แอบบอท นักวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิชิแกน อธิบายว่า คือปรากฏการณ์ที่การหลอมละลายทำให้พื้นผิวของพื้นที่เยือกแข็งลึกลงมากขึ้นเรื่อยๆในทุกปี ซึ่งเห็นได้ชัดจากทั่วบริเวณขั้วโลกเหนือและป่าบอเรียล

แต่ปรากฏการณ์ที่โบโกยาฟเลนสกี เชื่อว่าเป็นที่มาของ “หลุมลึกลับแห่งไซบีเรีย” นั้นเรียกว่า “เทอร์โมคาร์สต์” กล่าวคือ เมื่อพื้นที่เพอร์มาฟรอสต์หลอมละลาย มันจะยุบตัวลงได้ในหลายแบบ แต่ในเวลาเดียวกันถ้าในพื้นที่ดังกล่าวมี กลุ่มก๊าซปริมาณมากที่เกิดจากการเน่าเปื่้อยของอินทรียสารอยู่ด้วย แทนที่พื้นผิวด้านบนจะยุบตัว มันกลับถูกดันออกด้านบนด้วยแรงดันมหาศาลของก๊าซ ส่งผลให้เกิดหลุมลึก ชวนประหลาดใจดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม แอบบอท และ นักวิทยาศาสตร์อีกหลายคนยังไม่ปักใจเชื่อตามข้อสันนิษฐานของโบโกยาฟเลนสกี จนกว่าจะมีใครเห็นการระเบิดดังกล่าวด้วยตา ก็ไม่น่าจะตัดความเป็นไปได้อย่างอื่นทิ้งไป

ในเวลาเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งรัสเซีย เปิดเผยกับไซบีเรียน ไทมส์ ด้วยว่า ได้ตรวจสอบพบก้อนก๊าซกระจายกันอยู่ทั่้วไปในทุ่งน้ำแข็งไซบีเรียนทุนดรา ภายในฟองก๊าซดังกล่าวเต็มไปด้วยมีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์ รวมแล้วไม่น้อยกว่า 7,000 จุด กำลังเตรียมระเบิด และเชื่อว่า ฟองก๊าซเหล่านี้เป็นที่มาของเหตุการณ์ทะเลสาบอาร์คติกกว่า 200 แห่งเดือดปุดๆ เหมือนฟองจากุซซีอีกด้วย

แอบบอท ชี้ว่า แม้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากภาวะหลอมละลายของเพอร์มาฟรอสต์จะน่าวิตก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องน่าตกใจ
สิ่งที่ทุกคนทำได้ในเวลานี้คือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมนุษย์ลงให้มากที่สุดและเร็วที่สุด แทนที่จะมัวกังวลกับสถานการณ์ดังกล่าว

ขุดพบไดโนเสาร์บินได้สปีชีส์ใหม่


นักวิจัยในเยอรมนีขุดพบไดโนเสาร์บินได้สปีชีส์ใหม่ ซึ่งกระพือปีกเหมือนอีกา และอาจจะถือกุญแจสำคัญให้เราไขปริศนาได้ว่า นกในปัจจุบันนั้นวิวัฒนาการจากบรรพบุรุษที่เป็นสัตว์เลื้อยคลานได้อย่างไร

ฟอสซิลของไดโนเสาร์บินได้ที่ถูกจัดให้เป็นสปีชีส์ใหม่นี้ถูกขุดพบมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1861โดยเป็นเวลานานกว่าศตวรรษครึ่งแล้วที่เราเข้าใจกันว่า ไดโนเสาร์อาร์คีออพทีริกซ์ (Archaeopteryx) คือนกบินได้ยุคแรกๆ และจัดเป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็กที่มีขนาดประมาณวัและขนปุกปุย อาศัยตามที่ลุ่มมีน้ำขังเมื่อประมาณ 150 ล้านปีก่อน

นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยลุดวิก-แมกซิมิเลียนส์ (Ludwig-Maximilians University: LMU) ในมิวนิก และมหาวิทยาลัยไฟรบูร์ก (University of Fribourg) ได้ศึกษาการก่อกำเนิดของหินในแคว้นบาวาเรียของเยอรมนี ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการค้นพบชิ้นส่วนไดโนเสาร์อาร์คีออพทีริกซ์แหล่งใหญ่

ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบชิ้นส่วนปีกที่เป็นหิน ซึ่งเบื้องต้นพวกเขาสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นไดโนเสาร์บินได้สปีชีส์เดียวที่รู้จัก ทว่าต่อมาไม่นานพวกเขาก้ได้พบจุดที่แตกต่างหลายๆ อย่าง 
โอลิเวอร์ ราฮัท 
(Oliver Rauhut) จากภาควิชาโลกวิทยาและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยลุดวิก-แมกซิมิเลียนส์ กล่าวว่า แม้จะมีจุดที่คล้ายคลึงหลายๆ อย่าง แต่เมื่อเปรียบเทียบในส่วนของรายละเอียดกับไดโนเสาร์อาร์คีออพทีริกซ์ และตัวอย่างนกยุคแรกๆ จึงพบว่าตัวอย่างฟอสซิลที่พบนั้นมีลักษณะไปทางนกมากกว่าไดโนเสาร์บินได้ 
ไดโนเสาร์คล้ายนกสปีชีส์ใหม่นี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “อัลคโมนาวิส เพอชลี” 
(Alcmonavis poeschli) 
ซึ่งเป็นศัพท์เซลติกโบราณสำหรับเรียกแม่น้ำที่อยู่ใกล้ๆ แหล่งค้นพบ และเป็นเกียรติแก่ โรแลนด์ เพอชล์ (Roland Poeschl) นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบฟอสซิลและเป็นหัวหน้าทีมขุดสำรวจ

รายการบล็อกของฉัน