นักวิทยาศาสตร์รัสเซียปักใจเชื่อปรากฏการณ์
“หลุมลึกลับแห่งไซบีเรีย”
เกิดจากภาวะหลอมละลายของทุ่งน้ำแข็งในไซบีเรียซึ่งส่งผลให้เกิดการระเบิดของมวลก๊าซใต้ดินที่เคยถูกกักอยู่ได้เมื่อพื้นที่อยู่ในสภาพเยือกแข็ง
นักวิทยาศาสตร์ตะวันตกยังไม่ยอมตัดความเป็นไปได้ที่เหลือ ในขณะที่สื่อในท้องถิ่นเตือนภัยฟองก๊าซขนาดใหญ่ 7,000 แห่งรอระเบิด
“หลุมลึกลับแห่งไซบีเรีย”
เกิดจากภาวะหลอมละลายของทุ่งน้ำแข็งในไซบีเรียซึ่งส่งผลให้เกิดการระเบิดของมวลก๊าซใต้ดินที่เคยถูกกักอยู่ได้เมื่อพื้นที่อยู่ในสภาพเยือกแข็ง
นักวิทยาศาสตร์ตะวันตกยังไม่ยอมตัดความเป็นไปได้ที่เหลือ ในขณะที่สื่อในท้องถิ่นเตือนภัยฟองก๊าซขนาดใหญ่ 7,000 แห่งรอระเบิด
วาซิลี โบโกยาฟเลนสกี นักวิจัยจากสถาบันวิจันน้ำมันและก๊าซ ในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ให้สัมภาษณ์ไซบีเรียน ไทมส์ สื่อในท้องถิ่นไซบีเรีย ระบุว่า หลุมลึกลับขนาดใหญ่ที่พบเห็นกันบ่อยครั้งในพื้นที่ ไซบีเรีย ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา และกลายเป็นที่พิศวงของนักวิทยาศาสตร์ทั่วไปว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใดกันแน่นั้น น่าจะเกิดขึ้นด้วยปรากฏการณ์ชนิดหนึ่งในจำนวนหลายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ เมื่อสภาพพื้นที่ซึ่งเคยอยู่ในสภาพเยือกแข็งตลอดระยะเวลา
(เพอร์มาฟรอสต์) เกิดหลอมละลายขึ้นมา
(เพอร์มาฟรอสต์) เกิดหลอมละลายขึ้นมา
การหลอมละลายของทุ่งน้ำแข็งไซบีเรีย หรือ ไซบีเรียน ทุนดรา นั้นเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นที่ยอมรับกันว่ากำลังเกิดขึ้น ไซบีเรียน ทุนดรา คือดินที่มีสภาพเยือกแข็งตลอดปีมาเป็นระยะเวลานาน เมื่อตอนที่มันจับตัวแข็งเพราะอากาศหนาวเย็นจัดนั้น พื้นที่ดังกล่าวจะกักเก็บอินทรีย์วัตถุไว้ภายใน ความเย็นทำให้อินทรียสารเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นซากพืช หรือซากสัตว์ (รวมทั้งซากแมมมอธ) ไม่เน่าเปื่อย แต่สภาพเช่นนี้จะเปลี่ยนไปเมื่ออุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น ทุ่งทุนดราก็จะเริ่มหลอมละลาย ทำให้เกิดการเน่าเปื่อยขึ้นตามมาการเน่าเปื่อยของซากพืชหรือสัตว์ที่เป็นอินทรียสารนั้น จะก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกหลายชนิด ทั้ง คาร์บอนไดออกไซด์, มีเทน และไนตรัสออกไซด์ ขึ้น ก๊าซเหล่านี้จะส่งผลให้ภาวะโลกร้อนเร่งเร็วขึ้นจากเดิมที่เคยทวีขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะน้ำมือมนุษย์ ก๊าซมีเทนที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของวัตถุอินทรีย์นั้น จะสมทบด้วยก๊าซอีกแบบที่เรียกว่า “มีเทน ไฮเดรท” ที่เกิดจากฟองมีเทนซึ่งเดิมถูกกักเก็บไว้ในสภาพเยือกแข็งของพื้นดิน
เมื่อพื้นดินหลอมละลายก็จะถูกปลดปล่อยออกมา ยิ่งสร้างความกังวลเรื่องก๊าซเรือนกระจกมากยิ่งขึ้น
สภาพการหลอมละลายของพื้นที่เพอร์มาฟรอสต์โดยทั่วไปจะก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “แอคทีฟ-เลเยอร์ ดีพเพนนิง” ซึ่ง เบน แอบบอท นักวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิชิแกน อธิบายว่า คือปรากฏการณ์ที่การหลอมละลายทำให้พื้นผิวของพื้นที่เยือกแข็งลึกลงมากขึ้นเรื่อยๆในทุกปี ซึ่งเห็นได้ชัดจากทั่วบริเวณขั้วโลกเหนือและป่าบอเรียล
แต่ปรากฏการณ์ที่โบโกยาฟเลนสกี เชื่อว่าเป็นที่มาของ “หลุมลึกลับแห่งไซบีเรีย” นั้นเรียกว่า “เทอร์โมคาร์สต์” กล่าวคือ เมื่อพื้นที่เพอร์มาฟรอสต์หลอมละลาย มันจะยุบตัวลงได้ในหลายแบบ แต่ในเวลาเดียวกันถ้าในพื้นที่ดังกล่าวมี กลุ่มก๊าซปริมาณมากที่เกิดจากการเน่าเปื่้อยของอินทรียสารอยู่ด้วย แทนที่พื้นผิวด้านบนจะยุบตัว มันกลับถูกดันออกด้านบนด้วยแรงดันมหาศาลของก๊าซ ส่งผลให้เกิดหลุมลึก ชวนประหลาดใจดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม แอบบอท และ นักวิทยาศาสตร์อีกหลายคนยังไม่ปักใจเชื่อตามข้อสันนิษฐานของโบโกยาฟเลนสกี จนกว่าจะมีใครเห็นการระเบิดดังกล่าวด้วยตา ก็ไม่น่าจะตัดความเป็นไปได้อย่างอื่นทิ้งไป
ในเวลาเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งรัสเซีย เปิดเผยกับไซบีเรียน ไทมส์ ด้วยว่า ได้ตรวจสอบพบก้อนก๊าซกระจายกันอยู่ทั่้วไปในทุ่งน้ำแข็งไซบีเรียนทุนดรา ภายในฟองก๊าซดังกล่าวเต็มไปด้วยมีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์ รวมแล้วไม่น้อยกว่า 7,000 จุด กำลังเตรียมระเบิด และเชื่อว่า ฟองก๊าซเหล่านี้เป็นที่มาของเหตุการณ์ทะเลสาบอาร์คติกกว่า 200 แห่งเดือดปุดๆ เหมือนฟองจากุซซีอีกด้วย
แอบบอท ชี้ว่า แม้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากภาวะหลอมละลายของเพอร์มาฟรอสต์จะน่าวิตก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องน่าตกใจ
สิ่งที่ทุกคนทำได้ในเวลานี้คือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมนุษย์ลงให้มากที่สุดและเร็วที่สุด แทนที่จะมัวกังวลกับสถานการณ์ดังกล่าว