นักวิจัยในเยอรมนีขุดพบไดโนเสาร์บินได้สปีชีส์ใหม่ ซึ่งกระพือปีกเหมือนอีกา และอาจจะถือกุญแจสำคัญให้เราไขปริศนาได้ว่า นกในปัจจุบันนั้นวิวัฒนาการจากบรรพบุรุษที่เป็นสัตว์เลื้อยคลานได้อย่างไร
ฟอสซิลของไดโนเสาร์บินได้ที่ถูกจัดให้เป็นสปีชีส์ใหม่นี้ถูกขุดพบมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1861โดยเป็นเวลานานกว่าศตวรรษครึ่งแล้วที่เราเข้าใจกันว่า ไดโนเสาร์อาร์คีออพทีริกซ์ (Archaeopteryx) คือนกบินได้ยุคแรกๆ และจัดเป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็กที่มีขนาดประมาณวัและขนปุกปุย อาศัยตามที่ลุ่มมีน้ำขังเมื่อประมาณ 150 ล้านปีก่อน
นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยลุดวิก-แมกซิมิเลียนส์ (Ludwig-Maximilians University: LMU) ในมิวนิก และมหาวิทยาลัยไฟรบูร์ก (University of Fribourg) ได้ศึกษาการก่อกำเนิดของหินในแคว้นบาวาเรียของเยอรมนี ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการค้นพบชิ้นส่วนไดโนเสาร์อาร์คีออพทีริกซ์แหล่งใหญ่
ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบชิ้นส่วนปีกที่เป็นหิน ซึ่งเบื้องต้นพวกเขาสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นไดโนเสาร์บินได้สปีชีส์เดียวที่รู้จัก ทว่าต่อมาไม่นานพวกเขาก้ได้พบจุดที่แตกต่างหลายๆ อย่าง
โอลิเวอร์ ราฮัท
(Oliver Rauhut) จากภาควิชาโลกวิทยาและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยลุดวิก-แมกซิมิเลียนส์ กล่าวว่า แม้จะมีจุดที่คล้ายคลึงหลายๆ อย่าง แต่เมื่อเปรียบเทียบในส่วนของรายละเอียดกับไดโนเสาร์อาร์คีออพทีริกซ์ และตัวอย่างนกยุคแรกๆ จึงพบว่าตัวอย่างฟอสซิลที่พบนั้นมีลักษณะไปทางนกมากกว่าไดโนเสาร์บินได้
(Oliver Rauhut) จากภาควิชาโลกวิทยาและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยลุดวิก-แมกซิมิเลียนส์ กล่าวว่า แม้จะมีจุดที่คล้ายคลึงหลายๆ อย่าง แต่เมื่อเปรียบเทียบในส่วนของรายละเอียดกับไดโนเสาร์อาร์คีออพทีริกซ์ และตัวอย่างนกยุคแรกๆ จึงพบว่าตัวอย่างฟอสซิลที่พบนั้นมีลักษณะไปทางนกมากกว่าไดโนเสาร์บินได้
ไดโนเสาร์คล้ายนกสปีชีส์ใหม่นี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “อัลคโมนาวิส เพอชลี”
(Alcmonavis poeschli)
ซึ่งเป็นศัพท์เซลติกโบราณสำหรับเรียกแม่น้ำที่อยู่ใกล้ๆ แหล่งค้นพบ และเป็นเกียรติแก่ โรแลนด์ เพอชล์ (Roland Poeschl) นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบฟอสซิลและเป็นหัวหน้าทีมขุดสำรวจ
(Alcmonavis poeschli)
ซึ่งเป็นศัพท์เซลติกโบราณสำหรับเรียกแม่น้ำที่อยู่ใกล้ๆ แหล่งค้นพบ และเป็นเกียรติแก่ โรแลนด์ เพอชล์ (Roland Poeschl) นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบฟอสซิลและเป็นหัวหน้าทีมขุดสำรวจ