ย้อนรอยอดีต ประวัติที่มาของถนนสุขุมวิทกับอดีตวันวานที่ไม่มีวันหวนกลับมาอีกแล้ว
🧔🏻เมื่อวานก่อนนั่งดูข่าวเห็นข่าวน้ำท่วมถนนสุขุมวิทก็เลยมีความคิดสนใจอยากจะทำบทความเรื่องถนนสุขุมวิท..ประวัติความเป็นมา ก็หาข้อมูลรวบรวมเท่าที่พอจะหาได้..ก็พอจะได้สาระบ้างนะครับ
👉🏿การพัฒนามันก็ดีนะครับ...แต่สำหรับประเทศไทยเท่าที่ดูๆแล้วยิ่งพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างยิ่งเสื่อมลงไม่รู้เป็นไรนะครับ(อันนี้เป็นความคิดส่วนบุคคลนะครับ)
👉🏿ภาพถนนสุขุมวิทก่อนปี 2500 ประมาณ 4-5 ปี ...ที่เห็นในภาพจะเป็นส่วนของถนนในกรุงเทพฯ ถ้าขับรถเลยนอกเมืองไปจะเรียกว่า ถนนกรุงเทพฯ -สมุทรปราการ คือสมัยก่อนเลยวัดธาตุทองไปก็เริ่มเป็นชนบทแล้วครับ 😁
👉🏿ถนนสุขุมวิท ถูกตั้งชื่อโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 เพื่อเป็นเกียรติแก่ พระพิศาลสุขุมวิท (ประสพ สุขุม) อธิบดีกรมทางหลวง 👍
สมัยก่อนจะไปเที่ยวบางปูหรือบางแสนก็ต้องไปเส้นนี้ล่ะครับ โดยผ่านทางสมุทรปราการ ...บางคนก็เรียกว่า ถนนกรุงเทพฯ - สมุทรปราการ ... สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 สามารถขับรถไปได้ถึงจังหวัดระยองเลยทีเดียว ...เรื่องราวเหล่านี้บันทึกไว้ใน นิยาย พล นิกร กิมหงวน ตอนเที่ยวทางไกล ปี 2484 😅🐈🦆👍
🧔🏻ถนนสุขุมวิท
ถนนสุขุมวิท (อักษรโรมัน: Thanon Sukhumvit) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายบางนา–หาดเล็ก เป็นหนึ่งในทางหลวงแผ่นดินสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย จุดเริ่มต้นที่แยกใต้ทางด่วนเพลินจิต ซึ่งเป็นทางต่อเนื่องจากถนนเพลินจิต ในกรุงเทพมหานคร เลียบตามชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก และไปสิ้นสุดที่ด่านพรมแดนในอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ติดต่อกับชายแดนจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา รวมระยะทางยาวทั้งสิ้นประมาณ 488 กิโลเมตร
👉🏿ถนนสุขุมวิทในกรุงเทพมหานคร มีประวัติเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2462 เมื่อนางสาว อี. เอส. โคล หรือ "แหม่มโคล" ครูใหญ่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง หรือในปัจจุบันคือโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ได้ย้ายโรงเรียนจากข้างโรงพยาบาลศิริราชมาอยู่ริมคลองแสนแสบซึ่งตอนนั้นยังไม่มีชุมชน การคมนาคมก็มีเพียงแต่คลองแสนแสบ จึงขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ตัดถนนเพลินจิตต่อจากถนนปทุมวัน (ถนนพระรามที่ 1) จนถึงจุดบรรจบบนถนนวิทยุที่แยกไปสถานีวิทยุโทรเลข (แยกเพลินจิต)
👉🏿 ซึ่งถนนดังกล่าวอยู่ในแนวถนนที่เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ดำริจะตัดไปสมุทรปราการอยู่แล้ว แต่กรมสุขาภิบาลยังไม่มีเงินสร้าง ในปี พ.ศ. 2466 โรงเรียนกุลสตรีวังหลังเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย นาย เอ.อี.นานา ได้เรี่ยไรเจ้าของที่ดินในย่าน แล้วนำเงินมาให้กรมสุขาภิบาลขุดคลองเอาดินพูนขึ้นเป็นถนน จากจุดตัดของถนนเพลินจิตกับถนนวิทยุ ไปจนถึงซอยเข้าโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (ซอยสุขุมวิท 19) เป็นระยะทาง 3,072 เมตร
👉🏾ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ขอพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อตัดถนนต่อจากปากซอยสุขุมวิท 19 ไปจนถึงจังหวัดสมุทรปราการ ได้ชื่อว่า "ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ" เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2479 ต่อมาพระพิศาลสุขุมวิท (ประสพ สุขุม) ตำแหน่งอธิบดีกรมทางในขณะนั้น และเป็นบุตรของเจ้าพระยายมราชและท่านผู้หญิงตลับ
ได้จัดทำ "โครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทย" เป็นแม่บทในการสร้างทางหลวงเป็นเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ ถูกกำหนดให้เป็นทางสายหลักของภาคตะวันออก จึงสร้างต่อจากสมุทรปราการ ผ่านชลบุรี ระยอง ไปจนถึงตัวเมืองตราด เรียกชื่อว่า "ถนนกรุงเทพฯ-ตราด" ทำให้คณะรัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีมติให้ตั้งชื่อทางหลวงสายกรุงเทพฯ-ตราดว่า ถนนสุขุมวิท เพื่อเป็นเกียรติแก่พระพิศาลสุขุมวิท เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493
ภาพสองภาพข้างบนนี้น่าจะเป็นแถวเยาวราชกับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิในสมัยโบร่ำโบราณครับ
👉🏿ต่อมาได้มีการกำหนดให้รวมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 318 ตลอดทั้งสาย (ช่วงตัวเมืองตราดถึงด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่) ให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ทำให้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 มีระยะทางเพิ่มขึ้นอีก 89 กิโลเมตร
🌀สุดท้ายก่อนจบบทความนี้อดีตไม่มีวันหวนกลับมาแล้วภาพอดีตมันก็คือภาพอดีต
🌀ส่วนปัจจุบันจะเป็นอย่างไรมันก็เป็นเรื่องของปัจจุบันและอนาคต...
👉🏾แต่สำหรับความคิดของข้าพเจ้าแล้วอยากจะย้อนกลับไปอยู่ในอดีตมากกว่าที่จะอยู่ในปัจจุบัน...แต่มันก็เป็นไปไม่ได้...นอกจากวาระสุดท้ายคือความตายและจะมีความจดจำฝังใจอดีตและสิ่งดีๆเอาไว้แค่นั้นเอง
🧔🏻แล้วยิ่งมีข่าวออกมาว่าอีกไม่นานกรุงเทพฯก็จะจมน้ำทะเลแล้วมันก็เป็นอะไรที่รู้สึกเศร้ามากนะครับถ้าไม่มีการพัฒนาและป้องกันกรุงเทพฯมันต้องจมน้ำทะเลแน่ๆในอนาคต..